เมื่อเกมพื้นบ้านของชาวญี่ปุ่นและเกาหลีลุกขึ้นมาปัดฝุ่นการออกแบบเสียใหม่ จนกลายเป็นการ์ดเกมหน้าตาเฟี้ยวฟ้าว พร้อมคำโปรยว่า "เค้าฮิตมาเป็นเวลา 100 ปี เป็นเทอจะไม่เล่นหรา"
เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา พยัคฆ์อรุณไม่สามารถมูฟออนจากเกมๆหนึ่งได้ เกมนี้ซื้อในญี่ปุ่นแต่ผลิตในเกาหลี ยิ่งไปค้นคว้าหาข้อมูลที่มายิ่งหลงใหล เป็นเกมที่มีเพียงการ์ดปึกเดียวกับภาพที่สวยงาม
เมื่อค้นคว้าถึงพบว่า Flower Battle เป็นเกมที่พัฒนามาจากเกมไพ่ Hwatu ของเกาหลี หรือ Hanafuda ของญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองชาตินั้นมีวิธีการเล่นที่ไม่เหมือนกันเลย นอกจากนี้ยังค้นเจอว่ามีการเล่นเกมนี้กันในฮาวาย และสเปนด้วย
credit : (ภาพซ้าย) flowerbattle.com (ภาพขวา) original version ของ Hanafuda จาก https://www.japanexperterna.se/
พอลองศึกษากฏก็พบว่าวิธีการเล่นของ Flower Battle เวอร์ชั่นนี้ถูกปรับให้ทันสมัยขึ้น มีความเป็นเกมรุ่นใหม่ เน้น Set Collection และกติกาหักมุมมากมาย
ในขณะที่เวอร์ชั่นญี่ปุ่นจะรู้สึกคลาสสิกเรียบง่าย..
มาค่อยๆทำความรู้จักไปด้วยกันนะ โดยในโพสแรกนี้จะเล่าถึงการเล่นแบบใหม่สไตล์กฏเกาหลีให้ฟังก่อน
วูบแรกที่แกะกล่องออกดูก็พบการ์ดมากมายสี่สิบกว่าใบ ที่สีสันละลานตาไปหมดจนแยกความหมายไม่ออก จึงรีบไปหยิบ Rule Sheet มาอ่าน
ก็ต้องตกใจอีกเพราะดันเป็นภาษาญี่ปุ่นล้วน T T
แต่พอจะจับความได้ว่า การจัดประเภทการ์ดให้ดูที่ "ดอก"
ดอกจริงๆนะ เพราะเค้าให้ดูดอกไม้, ต้นไม้ที่อยู่ในพื้นหลังของภาพบนการ์ดแหละ
เจอแล้วดอก!
อย่างกลุ่มนี้ ดอกไม้ที่วาดอยู่บนพื้นหลังคือดอกเบญจมาศ ก็ถือว่าเป็นการ์ด Same Month
เอ๊ะว่าแต่ Month คืออะไร แปลว่าเดือนไม่ใช่รึ
การ์ดใน Flower Battle จะจัดประเภทด้วยการเรียกว่าเดือน เมื่อนำมาเรียงจึงเรียงได้ 12 กลุ่ม หรือ 12 เดือนพอดีนั่นเอง
ทางดีไซน์เนอร์เค้าก็ใช้สีบนกรอบการ์ดเพื่อช่วยแยกให้เราแล้วแหละ
การแบ่งประเภทด้วยเดือนนี้ คือ function ศำคัญของเกมที่นำไปสู่ Strategy การเล่น
และเมื่อพิจารณาดูการ์ดในแต่ละเดือน จะพบว่าแบ่งออกเป็น 2 แบบอีก นั่นก็คือ
(ซ้าย) แบบ Plain หรือมีแต่ดอกไม้โล้นๆ
(ขวา) แบบไม่ Plain หรือมีกรอบแปลกๆบ้าง มีป้ายอยู่ข้างหน้าบ้าง มีสัตว์หรือของอื่นๆปะปนบ้าง
จะมีเพียงกลุ่มการ์ดต้นหลิวจากเดือนธันวาคม ที่ไม่มีการ์ด Plain เลย และแถมยังมีกติกาเฉพาะที่ป่วนพอดู
"เดือนเดียวกัน" สิ่งนี้สำคัญยังไง คุณคงต้องมาดูวิธีเล่นกันก่อน
เพราะการที่จะเอาการ์ดมาทำคะแนนได้.. คุณต้องใช้ดอกไม้จากเดือนเดียวกันไปหยิบขึ้นมาเท่านั้น!!
Set Up เริ่มต้น
จะมีการ์ดดอกไม้จำนวนหนึ่งวางอยู่ตรงกลางโต๊ะ ในโซนที่เราเรียกว่า Ground และมีกองจั่วอยู่ใกล้ๆ
ส่วนแต่ละคนก็ได้รับแจกการ์ดอีกจำนวนหนึ่ง เรียกว่า Hand
การ์ดดอกไหนเดือนไหน ตอนแรกมันก็จะปนกันไปหมด
วิธีการเล่นคือ
เลือกใบหนึ่งจาก Hand แล้ววางลงไปให้แมทช์กับการ์ดเดือนเดียวกันที่อยู่บน Ground
อย่างในภาพคือ เอาเบญจมาศไปแมทช์เบญจมาศ
แล้วหยิบอีกใบจากกองจั่ว
หงายดูทันที แล้ววางลงไปบน Ground ดูซิว่าพอจะแมทช์เดือนอื่นเพิ่มได้มั้ย
"ดอกหนึ่งจากมือสู่ดิน ดอกหนึ่งจากกองสู่ดิน และกองเกี่ยวเดือนเดียวกัน"
การ์ดที่แมทช์กันได้ เราจะได้หยิบขึ้นมาทั้งหมด และนำมาวางรอจัดเซ็ตตรงหน้าตัวเอง เพื่อเอาคะแนนต่อไปง่ายๆแบบนี้
แต่คอลเล็กชั่นคะแนนนั้น ไม่ธรรมดา มาดูกันต่อเลย
ขอแนะนำ ไม้ช่วยนับคะแนน ซื้อจาก Shopee นำช่วยเล่นเกมนี้ได้สะดวกดี
การ์ด Plain ใบเดี่ยว 0 คะแนน
แต่สะสมให้ถึง 10 ใบ ถึงจะได้มา 1 คะแนน
แต่การ์ด Plain ที่ได้มาต่อจาก 10 ใบแรก จะเริ่มให้ใบละ 1 คะแนนไปเรื่อยๆ
(11 ใบ = 2 คะแนน , 12 ใบ = 3 คะแนน)
ถ้าเจอตัวอักษรแปลกๆนี้คือ การ์ด Double มีค่าเทียบเท่า Plain 2 ใบ
เอาไปรวมเซ็ตกับ Plain ได้เลย จะได้ถึง 10 ใบไวๆ
การ์ดริบบิ้น ที่เหมือนมีป้ายบังอยู่
เมื่อเก็บได้ครบ 5 ใบ ได้ 1 คะแนน
ใบที่ต่อจาก 5 ใบแรก จะให้ใบละ 1 คะแนน
(6 ใบ = 2 คะแนน , 7 ใบ = 3 คะแนน)
ริบบิ้นแบบเดียวกันครบเซ็ต 3 ใบ ได้เพิ่มอีก 3 คะแนน
นี่คือริบบิ้นจากการ์ดกลุ่มต้นหลิวสุดป่วน เห็นอยู่ชัดๆว่ามีริบบิ้นแดง
แต่หลิวจะไม่นับเข้าเซ็ต 3 เพื่อรับโบนัส 3 คะแนนได้ หลิวไม่สังคม
ต่อมาการ์ดโมเสก
โมเสก ดูได้จากกรอบการ์ดจะเป็นลายตารางสีๆ
เมื่อเก็บได้ 5 ใบ จะได้ 1 คะแนน เหมือนการ์ดริบบิ้น
ใบที่ต่อจาก 5 ใบแรก จะให้ใบละ 1 คะแนน เช่น 6 ใบ = 2 คะแนน
แต่! มันต่างออกไปตรงที่ พอเก็บ 7 ใบปุ๊บ! ได้เพิ่ม +7 คะแนน ใบที่ 8 ได้ +8 คะแนน โหดมาก
และยังมีโบนัสที่น่ารักคือ ถ้าในกลุ่มการ์ดโมเสกที่เราเก็บมีนก 5 ตัว จะได้โบนัสอีก +5 คะแนน
เอ๊ะ การ์ด 3 ใบ ทำไมบอก 5 ตัว?
เพราะนี่ไง ใบนี้มีห่านบินทีเดียว 3 ตัวเลย
ส่วนโมเสกใบนี้ มีแก้วสาเกเล็กๆอยู่ เห็นมั้ย
ใบนี้พิเศษ เพราะจะใช้เก็บเข้าเซ็ตกับโมเสก หรือแยกไปอยู่กับการ์ด Plain ก็ได้ และนับเป็น Double
ส่วนหมูป่าตัวนี้ฮามาก จะเล่นไม่เล่นก็ได้
เค้าบอกว่า ก่อนเริ่มเล่นแต่ละรอบให้ทุกคนเอาคะแนนตัวเอง 1 ไม้มาลงที่กองกลาง พอเล่นหลายรอบก็ใส่ไว้เรื่อยๆ ถ้าตอนแจกการ์ดก่อนเล่น ใครได้หมูป่า ได้คะแนนทั้งหมดนั่นไปเลย!
ส่วนนี่คือการ์ดเหรียญทอง ไหนเหรียญ? ตอนแรกหาไม่เจอ
พอดูดีๆก็เจอละ นี่ไง เหรียญกลมๆซ่อนอยู่ในภาพ
การ์ดที่มีเหรียญทองนั้น เก็บได้ครบ 3 ใบ ก็ได้แล้ว 3 คะแนน
แต่ถ้าใน 3 ใบนั้นมีต้นหลิว จะเหลือ 2 คะแนน เพราะหลิวไม่สังคม
แต่พอเก็บถึง 4 ใบ หลิวจะกลับมามีบทบาท นับ 4 คะแนน หลิว!!!!ยังไงซิ
การ์ดที่มีเหรียญทองนั้น ถือเป็นการ์ด Rare Item ของเกมนี้เพราะมีเพียง 5 ใบ
และถ้าใครเก็บได้ครบทั้ง 5 ได้เลย 10 คะแนน
แต่สิ่งที่หักมุมที่สุดของเกม Flower Battle คือ
ในแต่ละรอบการเล่นนั้น ผู้ชนะมีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือคนที่ไปถึงอย่างน้อย 3 คะแนนก่อน และจะชิงคะแนนจากผู้เล่นอื่นรอบวงเท่าคะแนนสุดท้ายที่ตัวเองทำได้ ตรงนี้แหละเกมจึงตั้งชื่อว่า Battle
การหยิบการ์ดของคุณแต่ละครั้งคุณจึงต้องอ่านทาง ระวังการทำคะแนนของคนอื่นไว้ด้วย
• แถมยังมีกติกา STOP or GO ที่พาเกมเข้มข้นขึ้นไปอีก •
ใครที่ไปถึง 3 คะแนนจะได้สิทธิ์ในการประกาศ
STOP แล้วชิงคะแนนทันที หรือ
GO แล้วทำคะแนนเพิ่มให้ได้ทุกรอบ เพื่อฟาดคะแนนจากเพื่อนให้หนักขึ้น รวมทั้งยังอาจปั้นเซ็ตการ์ดที่คะแนนสูงกว่าได้ แต่ถ้าทำเพิ่มไม่ได้ล่ะก็ ขิตจ่ะ แพ้เลย
เครดิตภาพจาก : flowerbattle.com
ด้วยความที่ Flower Battle ยกเครื่องให้เป็นการ์ดเกมรุ่นใหม่ จึงมีกติกาการเล่นพิเศษเพิ่มมาให้เพียบบบบบบบ!! คำแนะนำคือ ค่อยๆใส่ไปทีละกติกาจนกว่าคุณจะคุ้นเคย แต่ทุกกติกาเพิ่มนั้นพลิกการเล่นให้เดือดขึ้นเยอะ
ขอแนะนำให้หาไม้ไอติม หรือเห็นคนเกาหลีเอาลูกอมมาวางช่วยนับคะแนน
ส่วนกล่องเหล็กรูปหมูปานั้น พยัคฆ์อรุณทำเอง และทำเป็นของแถมเผื่อคุณไว้บางส่วนด้วย
แอบทำใบสรุปการเล่น และแปลกติกาเสริมไว้ด้วย เพื่อความสะดวกในการเล่นเท่านั้นนะ
โพสหน้าจะพาดูวิธีเล่นแบบญี่ปุ่นบ้าง ละมุนมากบอกเลย
Comments